วิธีทำน้ำใบเตย


ใบเตย


ชื่อท้องถิ่น :    กระเจี๊ยบเปรี้ยว (กลาง) ส้มพอเหมาะ ส้มเก็งเค็ง (เหนือ) ส้มตะเลงเครง (ตาก) ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ผักเก็งเค็ง ส้มพอดี (อีสาน) ใบส้มม่า (ระนอง)
สารสำคัญ      ใบเตยประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหยและมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น ไลนาลิลอะซีเตท (Linalyl acetate) เบนซิลอะซีเตท (Benzyl acetate) ไลนาโลออท (Linalool) และเจอรานิออล (Geraniol) และสารที่ทำให้มีกลิ่นหอมคือคูมาริน (Coumarin) และเอทิลวานิลลิน (Ethyl vanillin)

วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย
ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยา เตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยมากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบ ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ลดกระหายน้ำ และอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง
สรรพคุณ :
  • ต้นและราก  -  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
  • ใบสด   -  ตำพอกโรคผิวหนัง
                -  รักษาโรคหืด
                  -  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
                  -  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.            ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ    ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
2.            ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ    ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
3.            ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
4.            ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
1.            คุณค่าทางอาหาร    ใช้แต่งสีอาหารสีเขียว เพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร
2.            คุณค่าทางยา         ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น

ลักษณะทั่วไป:

 ต้น   ไม้พุ่มขนาดเล็ก  เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ  มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติด    
 ใบ    เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ
 ดอก   เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกฝัก/ผล ผลขนาดเล็กส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผลเป็นเตยเพศผู้
การปลูก:  ตามริมคูน้ำบริเวณที่น้ำขังแฉะหรือที่ดินชื้น
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดรำไรแต่ก็ทนต่อแสงแดดจัด
การขยายพันธุ์: 
ปักชำลำต้น หรือกิ่งแขนง
ส่วนที่มีกลิ่นหอมใบ
ถิ่นกำเนิด:   เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การขยายพันธุ์
    การปลูกเตย หอม และ การขยายพันธุ์   ขยายพันธุ์โดยการใช้หน่อที่เจริญเติบโตจากตัว แม่ เวลาปลูกควรรดน้ำทุกวัน เมื่อปลูกใหม่ ๆ ควรให้รับแสงรำไร
หรือโดย การปักชำลำต้น กิ่งแขนง ที่แยกมาจากต้นแม่โดยชำลงในดิน ที่ชุ่มน้ำ เช่น ริมคันสวน ถ้าชำในดินแห้งต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา
วิธีปลูกเตย ใบเตย


   ในบรรดาพืชที่มีกลิ่นหอมเป็น เอกลักษณ์ "108เคล็ดกิน" ยกให้พืชจำพวกหญ้าอย่าง "ใบเตย" อยู่ในอับดันต้น ๆ เลยทีเดียว เรื่องความหอมของใบเตยนี้ เชื่อว่าย่อมเป็นที่ประจักษ์กันเป็นอย่างดี เพราะมีการดัดแปลงนำมาใช้ ทั้งในแวดวงดอกไม้ ตลอดจนเป็นส่วนผสมทางอาหารหลากหลายเมนู

วิธีการทำ


ส่วนผสม
1.            ใบเตยสดหั่นเป็นชิ้นๆ25 กรัม
2.            น้ำ  1 กิโลกรัม
3.            น้ำตาลทราย  150  กรัม
วิธีทำน้ำใบเตย
1.            ปั่นน้ำใบเตยกับน้ำเล็กน้อย เติมน้ำจนครบ 1 กิโลกรัม
2.            ปิดฝาปล่อยให้น้ำเดือดประมาณ 10 นาที
3.            ใส่น้ำตาลทราย คนให้น้ำตาลละลาย กรอง
4.            บรรจุขวดฆ่าเชื้อแล้ว โดยการลวกด้วยน้ำเดือด หรืออบฆ่าเชื้อโรค
5.            เก็บไว้ในตู้เย็น บริโภคกับน้ำแข็ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น