วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

 

 



โรงเรียนวังบ่อวิทยา
แบบเสนองาน/โครงการประจำปี 2557
...........................................................................................

1.ชื่อโครงการ  โครงการผู้เรียนมีทักษะในการทำงานรักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมี
                     เจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
      กิจกรรม  อาชีพที่ฉันรัก (Friday Meeting Market )
กลยุทธ์แผนงานที่ 1  พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและมีศักยภาพเป็นพลโลก
          ข้อที่ 1.1  ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.สนองมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน      
          มาตรฐานที่ 6  ตัวบ่งชี้ที่   6.1 - 6.4
3.  สนองนโยบายของโรงเรียน
          .................................................................................................
4.หน่วยงานที่รับผิดชอบ  : กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
5.ลักษณะโครงการ  โครงการต่อเนื่อง
6.หลักการและเหตุผล
 จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษามาตรา๑๐ การจัดการการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำหรับเยาวชนที่ได้รับสิทธิทางการศึกษาตามพ.ร.บ. บางครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถส่งบุตร หลานเรียนได้ และทำให้นักเรียนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพื่อไปประกอบอาชีพ หารายได้มาจุนเจือครอบครัว และในสภาพปัจจุบันนักเรียน จะมีเวลาว่างในส่วนหนึ่ง เช่น วันหยุดต่างๆ และเวลาช่วงเลิกเรียน ซึ่งเวลาในส่วนนี้ นักเรียน มักจะปล่อยเวลาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรหรือไม่นำมาใช้ในการสร้างหรือหารายได้ระหว่างเรียน
จากรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต ผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม  คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๐๔  ดังนั้น โรงเรียนวังบ่อวิทยา ได้เล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้เพื่อเอาเวลาว่างมาใช้ประโยชน์ในการหารายได้ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียน โดยส่งเสริมให้นักเรียนหารายได้ระหว่างเรียน และฝึกทักษะการสร้างอาชีพด้วยตนเองเพื่อใช้ประกอบอาชีพได้หลังจากเรียนจบการศึกษา หรือในระหว่างเรียนได้ และเพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต มีความสามารถในการจัดหางาน และการสร้างอาชีพ



7. วัตถุประสงค์
         7.1  นักเรียนวางแผนการทำงานและดำเนินการจนเสร็จได้รู้จักคุณค่าของเงิน
         7.2  นักเรียนทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง              
         7.3  นักเรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น                                                                      
         7.4  นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้มีรายได้จากอาชีพที่ตนเองสนใจ
8.  เป้าหมายและผลผลิต
         8.1  เชิงปริมาณ 
               1. นักเรียนร้อยละ 87  มีการวางแผนการทำงานและดำเนินการจนเสร็จ อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป
               2. นักเรียนร้อยละ 87  ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงานของตนเอง อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป
              3. นักเรียนร้อยละ 87  ทำงานร่วมกับผู้อื่น อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป  
          8.2  เชิงคุณภาพ
       นักเรียนร้อยละ 90  มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจ  อยู่ในระดับ ดี ขึ้นไป
9.  สถานที่ดำเนินการ
          โรงเรียนวังบ่อวิทยา
10.  ระยะเวลาดำเนินการ
          ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2557  ( มิ.ย. 57 – มี.ค.58)
11.วิธีดำเนินการ/กิจกรรม
ที่
กิจกรรม/ขั้นตอน
วันดำเนินการ
งบประมาณ
ผู้รับผิดชอบ
1
ประชุมวางแผนการดำเนินงาน (P)
-แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
มิ.ย. 57

คณะครูทุกคน
2
ดำเนินการจัดกิจกรรม
ภาคเรียนที่ 1-2 /2557
1.       สำรวจความสนใจของนักเรียนเกี่ยวกับงานอาชีพ
2.       เลือกงานที่นักเรียนสนใจ
3.       ปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจ



มิ.ย. 57 -
ก.พ  58










คณะครูทุกคน
3.
ประเมินผลการดำเนินงาน (C)
-สังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
-ประเมินความพึงพอใจ
กพ.58

คณะครูทุกคน
4.
สรุป ปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินงาน (A)
-สรุปผลการดำเนินการ
-ตรวจสอบผลการดำเนินการ
-วางแผนการแก้ไขปรับปรุง

มี.ค.58

คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพละเทคโนโลยี



12.  การประเมินผลโครงการ
ที่
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
เครื่องมือวัด/ประเมิน
เกณฑ์
1

ผู้เรียนร้อยละ 87 มีทักษะในเรื่องการงานอาชีพสุจริต
- การประเมินด้วยแบบสอบถาม
- สัมภาษณ์นักเรียน
- แบบสอบถาม

2

สร้างงานอาชีพสุจริตให้กับผู้เรียนได้ร้อยละ87
- การประเมินด้วยแบบสอบถาม
- แบบสัมภาษณ์

3

ผู้เรียนร้อยละ 90 ทำงานอย่างมีความสุข ภูมิใจในผลงานของตนมีอาชีพติดตนไปใช้ในอนาคต

-แบบสอบถาม

 
13.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          13.1  นักเรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
          13.2  นักเรียนมีความสามารถในการจัดการสร้างงานอาชีพ และการประกอบการ
          13.3  นักเรียนมีประสบการณ์หารายได้ระหว่างเรียน
          13.4  นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
          13.5  นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน




ลงชื่อ.................................................ผู้เสนอโครงการ
                                           (นางสาวจิราภรณ์  เลี้ยงอำนวย)
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพละเทคโนโลยี
โรงเรียนวังบ่อวิทยา





   ลงชื่อ.................................................ผู้อนุมัติโครงการ
                                                 (นายวิฑูรย์  งามนิธิจารุเมธี)
                                              ผู้อำนวยการโรงเรียนวังบ่อวิทยา


                                        
บันทึกข้อความ
ส่วนราชการ   โรงเรียนวังบ่อวิทยา   ตำบลวังบ่อ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ที่ ศธ ๐๔๒๗๒.๐๓๔/ พิเศษ                 วันที่ ๑๖  มิถุนายน ๒๕๕๗
เรื่อง     ขออนุญาตจัดกิจกรรมอาชีพที่ฉันรัก       (Friday Meeting Market )



เรียน      ผู้อำนวยการโรงเรียนวังบ่อวิทยา
 เนื่องด้วยโรงเรียนวังบ่อวิทยาได้มี กิจกรรมอาชีพที่ฉันรัก   ตามโครงการผู้เรียนมีทักษะในการทำงานรักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต บางครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถส่งบุตร หลานเรียนได้ และทำให้นักเรียนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพื่อไปประกอบอาชีพ หารายได้มาจุนเจือครอบครัว
 ดังนั้น โรงเรียนวังบ่อวิทยา ได้เล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้โดยการจัดกิจกรรมอาชีพที่ฉันรัก
(Friday Meeting Market ) เดือนละ 2 ครั้ง สลับกับการจัดกิจกรรมทำบุญวันศุกร์ให้นักเรียนทุกระดับชั้นนำของกินของใช้ที่ตนเองสนใจมาขาย เพื่อส่งเสริมทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียน โดยส่งเสริมให้นักเรียนหารายได้ระหว่างเรียน และฝึกทักษะการสร้างอาชีพด้วยตนเองเพื่อใช้ประกอบอาชีพในอนาคต

           จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
                                                         
                                               


                        ลงชื่อ.................................................ผู้เสนอโครงการ
                                                          (นางสาวจิราภรณ์  เลี้ยงอำนวย)
        กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพละเทคโนโลยี
           โรงเรียนวังบ่อวิทยา






                                                    ลงชื่อ…………………………………………………..
                                                              (นายวิฑูรย์    งามนิธิจารุเมธี)
                                                            ผู้อำนวยการโรงเรียนวังบ่อวิทยา


             























วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กินถูกหลักกับธงโภชนา


ท่านต้องรับประทานอาหารในแต่ละกลุ่ม ในปริมาณเท่าไร
ชนิดและปริมาณของอาหารที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป จนถึงผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ แบ่งตามการใช้พลังงานเป็น 3 ระดับ คือ 1,600 2,000 และ 2,400 กิโลแคลอรี ดังนี้
กลุ่มอาหาร
หน่วย
พลังงาน (กิโลแคลอรี)
1,600
2,000
2,400
กลุ่มข้าว – แป้ง
ทัพพี
8
10
12
กลุ่มผัก
ทัพพี
4 (6)
5
6
กลุ่มผลไม้
ส่วน
3 (4)
4
5
กลุ่มเนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่
ช้อนกินข้าว
6
9
12
กลุ่มนม
แก้ว
2 (1)
1
1
กลุ่มน้ำมัน น้ำตาล และเกลือ
ช้อนชา
กินแต่น้อย เท่าที่จำเป็น
หมายเหตุ เลขใน ( ) คือ ปริมาณที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่


1,600 กิโลแคลอรี สำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี
หญิงวัยทำงานอายุ 25-60 ปี
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
2,000 กิโลแคลอรี สำหรับวัยรุ่น หญิง-ชาย อายุ 14-25 ปี
ชายวัยทำงานอายุ 25-60 ปี
2,400 กิโลแคลอรี สำหรับหญิง-ชาย ที่ใช้พลังงานมากๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา
ตามตารางข้างต้น หน่วยตวงวัดที่ใช้เป็นหน่วยที่ใช้ในครัวเรือน เช่น ทัพพี ช้อนกินข้าว และแก้ว ยกเว้นผลไม้แนะนำเป็น ส่วน


อาหารในกลุ่มเดียวกัน สามารถกินทดแทนกันได้
อาหารในกลุ่มเดียวกัน ให้พลังงานและคุณค่าทางโภชนาการเท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงกินสลับสับเปลี่ยนชนิดของอาหารในกลุ่มเดียวกันได้ แต่ไม่สามารถกินสับเปลี่ยนทดแทนอาหารต่างกลุ่มได้ เนื่องจากพลังงานและปริมาณสารอาหารไม่เท่ากัน ดังตัวอย่าง
กลุ่มข้าว-แป้ง ข้าวสุก 1 ทัพพี = ก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพี = ข้าวเหนียว 1/2 ทัพพี = ขนมจีน 1 จับ = ขนมปัง 1 แผ่น = บะหมี่ 1 ก้อน
กลุ่มผัก ฟักทองสุก 1 ทัพพี = ผักคะน้าสุก 1 ทัพพี = ผักบุ้งจีนสุก 1 ทัพพี = แตงกวาดิบ 1/2 ผลกลาง
กลุ่มผลไม้ ผลไม้ 1 ส่วน = เงาะ 4 ผล = ฝรั่ง 1/2 ผลกลาง = มะม่วงดิบ 1/2 ผล = กล้วยน้ำว้า 1 ผล = ส้มเขียวหวาน 1 ผลใหญ่ = มะละกอ หรือสับปะรด หรือแตงโม 6-8 ชิ้นพอคำ = ลองกอง หรือลำไย หรือองุ่น 6-8 ผล
กลุ่มเนื้อสัตว์ ปลาทู 1 ช้อนกินข้าว (1/2 ตัว ขนาดกลาง) = เนื้อหมู 1 ช้อนกินข้าว = ไข่ไก่ 1/2 ฟอง = เต้าหู้แข็ง 1/4 ชิ้น = ถั่วเมล็ดแห้งสุก 2 ช้อนกินข้าว
กลุ่มนม นมสด 1 แก้ว = โยเกิร์ต 1 ถ้วย = นมพร่องมันเนย 1 แก้ว
* ถ้าไม่ดื่มนม ให้กินปลาซาร์ดีน หรือปลาเล็กปลาน้อย 2 ช้อนกินข้าว หรือเต้าหู้แข็ง 1 แผ่น


รู้ได้อย่างไรว่า กินตามธงโภชนาการแล้ว เหมาะสมกับตนเองหรือไม่
เด็กอายุ 6-18 ปี เมื่อกินตามธงโภชนาการแล้ว ต้องดูว่า ร่างกายเจริญเติบโตสมวัยหรือไม่ (คือน้ำหนัก และส่วนสูงต้องเพิ่มขึ้นตามวัย) โดยชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเทียบกับเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กไทย
ผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไป อาจมีการจัดปรับปริมาณอาหารในแต่ละกลุ่มของแต่ละคน หากกินตามธงโภชนาการแล้ว น้ำหนักเกินหรือน้ำหนักลด กลุ่มอาหารที่ควรจัดปรับลดเพิ่ม คือ กลุ่มข้าว-แป้ง กลุ่มลิพิด น้ำตาล ส่วนผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ควรลดอาหารลิพิดสูง กะทิ เนย อาหารหวานจัด ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม รวมทั้งอาหารจานด่วนแบบตะวันตก และออกกำลังกาย เมื่อน้ำหนักเข้าสู่เกณฑ์ที่ต้องการ จึงปฏิบัติตามธงโภชนาการ